ภาวะไตอ่อนแอ...สัญญาณอันตรายของสุขภาพ

โรคไต ภาวะไตอ่อนแอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ สารพัดอาการที่ต้อง "บำรุงไต"

 

ไต_ภาวะไตอ่อนแอ
ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ
สารพัดอาการที่ต้อง "บำรุงไต

      การแพทย์จีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นเวลานับพันปี ไม่ว่าทฤษฎีทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาหรือเภสัชวิทยาของการแพทย์จีนต่างมีความแตกต่างไปจากการแพทย์ตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจหลักการและวิธีการดูแลสุขภาพในทัศนะการแพทย์จีนได้ง่ายขึ้น เอินเวย์ ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านถอดแว่นของนักวิชาการสมัยใหม่ทิ้งเสีย เพราะหากใช้ทฤษฎีการแพทย์ตะวันตกมาตีความกับการแพทย์จีนแล้วอาจเกิดความสับสนได้...

เรื่องราวของคุณวัลวิภา
      คุณวัลวิภา อายุเพียง 34 ปี มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะเป็นประจำมาร่วมปี เธอไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลไม่ว่าผลการตรวจเลือดหรือคลื่นแม่เหล็กถ่ายภาพสมอง (MRI)ต่างพบว่าปกติ จึงได้แต่คำแนะนำว่าอย่าเครียดและยาปลอบใจที่ว่าจะช่วยบำรุงร่างกายกลับมาทานที่บ้าน แต่อาการต่างๆก็ไม่เห็นทุเลาลง คุณวัลวิภาจึงต้องไปโรงพยาบาลอีก 2 แห่ง หวังว่าจะได้เจอหมอที่เก่งกว่ารักษาให้หายได้ แต่ผลการตรวจก็ออกมาเหมือนเดิมว่าปกติทุกประการทั้งๆ ที่เธอมีอาการหลายอย่างและรู้สึกไม่สบายมาก สุดท้ายเธอก็หันกลับมาหาหมอคนเดิมและขอให้คุณหมอวินิจฉัยใหม่ จนคุณหมอถามเธอว่า "หมอบอกแล้วว่าคุณไม่ได้เป็นอะไร คุณอยากให้เป็นอะไรหรือไง!?" นอกจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะแล้ว เธอยังมีอีกสารพัดอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อยนอนไม่หลับ ขี้หนาว สะดุ้งตื่นเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหน้าหมองคล้ำ ผมร่วง เป็นต้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณวัลวิภา ???

ภาวะไตอ่อนแอ... สัญญาณอันตรายของสุขภาพ
      คุณอาจมีปัญหาสุขภาพหรือประสบการณ์การรักษาคล้ายกับคุณวัลวิภา เมื่อคุณหมอแผนตะวันตกบอกว่าคนไข้อย่างคุณวัลวิภาเธอไม่ได้เป็นอะไรแล้วคนไข้เหล่านั้นเป็นอะไรกันแน่เกิดจากความเครียดหรืออุปทานไปเองจริงหรือ?! จริงๆแล้วสารพัดอาการของคุณวัลวิภาหากวินิจฉัยตามหลักการแพทย์จีนคือเกิดจากภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของการแพทย์จีนที่ได้มีการบันทึกในตำราการแพทย์มาแล้วนับพันปี หากแพทย์จีนท่านใดวินิจฉัยว่าคุณมีภาวะไตอ่อนแอคุณอย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าคุณเป็นโรคไตและไม่ต้องรีบแย้งกลับไปว่าคุณเพิ่งไปตรวจสุขภาพมา ไตไม่มีปัญหาหรอก เพราะว่าภาวะไตอ่อนแอไม่ใช่โรคไตในความหมายของการแพทย์ตะวันตก หากหมายถึงสภาพไตเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้สมรรถภาพการขับน้ำและของเสียของไตลดลง ส่งผลกระทบต่อดุลยภาพของอิเล็กโทรไลต์และความเป็นกรดด่างของร่างกาย รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนชนิดสำคัญที่สร้างจากไตและต่อมหมวกไตด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะแก่ก่อนวัยและพัฒนากลายเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคเกาต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น หรืออาจพัฒนากลายเป็นไตอักเสบ หรือไตวายได้ในที่สุด

ไตคือรากฐานของชีวิต...
      ไต (รวมทั้งต่อมหมวกไตด้วย) มีบทบาทสำคัญยิ่งในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาสมอง การสร้างกระดูก การสร้างเม็ดเลือด สมรรถภาพทางเพศ การสืบพันธุ์และความชรา นอกจากนี้ไตยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับระบบการทำงานของหัวใจ ปอด ตับ ม้าม ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ เนื่องจากไตมีหน้าที่สำคัญดังนี้:

      - ขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น ของเสียที่มาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ของเสียที่มาจากการเผาผลาญอาหารที่เรารับประทานเข้าไป

      - ของเสียที่มาจากการใช้ยาสารเคมีหรือสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น 

      - รักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและระดับความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น โซเดียม โปแตสเซียมแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ถ้าไตไม่แข็งแรง ปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายก็จะขาดความสมดุลจนเกิดผลกระทบหรือเป็นอันตราย ต่อร่างกายได้

      - รักษาความสมดุลของสภาพความเป็นกรดและด่าง ไตทำหน้าที่รักษาความเป็นกรดและด่างของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
      - ควบคุมความดันโลหิตของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะควบคุมความดันโลหิตในร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าไตทำงานผิดปกติ ความดันโลหิตก็จะสูงผิดปกติ ไตทำหน้าที่ควบคุมและสร้างฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด เช่น Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง Renin และ Prostaglandin ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการช่วยควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย เป็นต้น

      - ไตทำหน้าที่ควบคุมความแข็งแกร่งของกระดูก ไตควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส ถ้าไตเสื่อมลงกระดูกก็จะไม่แข็งแรงหรือผุกร่อน รวมทั้งระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดก็อาจผิดปกติจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 

      - การแพทย์จีนจึงเปรียบเสมือนไตเป็นรากฐานของชีวิต และนิยมใช้วิธีบำรุงรักษาไตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพหรือบำบัดหลายๆ อาการให้หายพร้อมๆ กัน ทั้งๆ ที่แต่ละอาการดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันในมุมมองของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม บำรุงไต บำบัดสารพัดโรค จึงถือเป็นวิทยาการอันล้ำค่าของการแพทย์จีนและมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของชาวจีนมาโดยตลอดจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนไปแล้ว

      - สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ...ไตจะเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกายที่เป็นไปตามวัฏจักรเกิด แก่เจ็บ ตายของสิ่งมีชีวิต

      - จึงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่วนจะเสื่อมเร็วช้าหรือมากน้อยอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ: กรรมพันธุ์ พ่อแม่ไม่แข็งแรงหรือมีลูกตอนอายุน้อยหรืออายุมากเกินไปหรือมีลูกหลายคน หรือคลอดก่อนกำหนด หรือตอนตั้งครรภ์คุณแม่มีอาการเครียด
          - ไม่มีการพักผ่อนและบำรุงอย่างเพียงพอ ทำให้ไตของลูกอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด
          - การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร ทำให้ไตสูญเสียพลังมากไป
          - ประสบอุบัติเหตุ ไตถูกกระทบกระเทือนหรือถูกกระแทกอย่างแรงบริเวณเอว
          - ทำงานหนัก ทำงานเกินกำลังหรือทำงานหามรุ่งหามค่ำ อดหลับอดนอน
          - โรคเรื้อรังต่างๆ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง วัณโรค หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ SLE โรคเกาต์ ฯลฯ
         - ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ผลกระทบจากการใช้ยาเคมี เช่น ยาแก้ปวด ยาคุมกำเนิดยารักษาสิว ยาลดความดัน ฮอร์โมนทดแทน ยาลดความอ้วน ฯลฯ
         - ความเครียด มลภาวะเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ ฟอร์มาลินหรือได้รับสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมสารโซเดียม (ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ) ที่มีอยู่ตามอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารรสจัด รสเค็ม และเครื่องดื่มที่ผสมสี ฯลฯ
         - ปัจจัยดังกล่าวล้วนทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร เราจึงพบบ่อยว่าหลายๆคนแม้ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวแต่ก็มีอาการของภาวะไตอ่อนแอ อย่างครบครันเช่นเดียวกับคุณวัลวิภา

ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการอย่างไรบ้าง ...
      - ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการหลากหลายตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจแสดอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆอาการพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมโทรมของไต อายุ และระยะเวลาที่เรื้อรัง การวินิจฉัยตนเองว่ามีภาวะไตอ่อนแอหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย เพียงแค่สังเกตว่าตนเองมีอาการดังนี้หรือไม่ ให้ทำเครื่องหมาย ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับอาการของตน
           - ระบบทางเดินปัสสาวะ
           - ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ
           - ปัสสาวะไม่สุด กะปริดกะปรอย
           - อั้นปัสสาวะไม่อยู่
           - น้ำปัสสาวะขุ่นหรือมีฟอง
           - อาการบวมน้ำ (ใช้นิ้วกดบริเวณหน้าแข้งแล้วมีรอยบุ๋ม)
           - ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
           - ปวดหลังปวดเอว แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง
           - ชาปลายมือปลายเท้า
           - เป็นตะคริวบ่อย
           - ปวดข้อเป็นประจำ
           - เป็นโรคเกาต์
           - ภาวะกระดูกพรุน
           - ระบบประสาทและอารมณ์
           - เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย
           - วิงเวียนศีรษะเป็นประจำ
           - นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ตื่นตอนกลางคืนเป็นประจำ
           - แขนขากระตุกในขณะนอนหลับหรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ
           - ฝันทั้งคืน ตื่นเช้าขึ้นมาไม่สดชื่น ไม่อยากลุกจากที่นอน
           - สภาพภายนอกของร่างกาย
           - ผิวหน้าหมองคล้ำ หยาบกร้าน ไม่มีเลือดฝาด มีฝ้าบนใบหน้า
           - ใต้ตาหมองคล้ำหรือบวม
           - หน้าอกหย่อนยาน
           - ผมหงอกก่อนวัย
           - ผมร่วงเกิน 50 เส้นต่อวันหรือร่วงเป็นจำนวนมากตอนสระผม
           - น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างฮวบฮาบ
           - อาการทางหู-ตา
           - หูอื้อหรือไม่ค่อยได้ยิน ต้องให้คนอื่นพูดซ้ำเป็นประจำ
           - ตาลาย ตาพร่า
           - โรคเมเนียส์ (น้ำในหูไม่เท่ากัน)

      หากคุณมีมากกว่า 2 อาการแสดงว่าไตของคุณเสื่อมลงแล้ว ยิ่งมีอาการมากเท่าไรไตก็ยิ่งเสื่อมโทรมลงมากเท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพที่คุณควรจะหันมาใส่ใจอย่างจริงจัง

ภาวะไตอ่อนแอ... ป้องกันและรักษาได้อย่างไร
      ถึงแม้ว่าไตจะเสื่อมลงตามวัยซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ถูกสุขลักษณะ และวิธีการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงทีสามารถช่วยชะลอภาวะไตอ่อนแอก่อนวัยอันควรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม เช่นยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์
อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลินสารโซเดียมที่อยู่ตามอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น ผงชูรส ผงฟู เป็นต้นอาหารรสจัด รสเค็ม อาหารและเครื่องดื่มที่ ผสมสี ฯลฯ  

          - การควบคุมอารมณ์ ควรมีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดีและพักผ่อนอย่างเพียงพอ
          - การออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยปรับการทำงานของไตกับอวัยวะอื่นๆ ให้สมดุลขึ้น
          - การมีเพศสัมพันธ์ที่พอเหมาะ หลังมีเพศสัมพันธ์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นจะต้องไม่รู้สึกอ่อนเพลียและมีอารมณ์ที่ปลอดโปร่ง
          - หลีกเลี่ยงการใช้ยาเคมีอย่างพร่ำเพรื่อ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมี เช่น ยาแก้ปวดยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนทดแทน เป็นต้น
          - ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของไตและอวัยวะอื่นๆในร่างกาย จึงควรตระหนักและใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
          - ควรรักษาโรคเรื้อรังอย่างจริงจัง โรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง มะเร็ง SLE โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคตับ เป็นต้น จะส่งผลกระทบต่อไตอย่างรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีอาการของภาวะไตอ่อนแอแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่เรื้อรังมาเป็นเวลานาน การปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวย่อมไม่เพียงพออย่างแน่นอน การแพทย์จีนจึงเน้นวิธีการบำรุงรักษาไตด้วยยาสมุนไพรจีนเป็นหลัก เมื่อไตแข็งแรงขึ้น สารพัดอาการที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

การบำรุงรักษาไตทำไมต้องเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว...
      การบำรุงรักษาไตจำเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ถึงแม้ว่าอายุยังไม่ถึง 30 ปีก็ตาม ไตอ่อนแอในช่วงแรกเราอาจไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติมากมายก็ได้ เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วร่างกายสามารถปรับตัวได้ระดับหนึ่งเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่างๆ ของภาวะไตอ่อนแอมักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกายถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนเราปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ผลตรวจการทำงานของไตตามหลักการแพทย์ตะวันตกที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% จึงแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่ผิดปกตินั้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าถ้าผลตรวจยังปกติก็แสดงว่าไตยังแข็งแรงอยู่ ทั้งๆ ที่ไตเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม จึงทำให้หลายๆ คนชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังจนพัฒนาเป็นโรคร้ายต่างๆ แล้วค่อยดิ้นรน รักษาด้วยทุกวิถีทาง

การวิจัยสมุนไพรบำรุงไตในทัศนะการแพทย์ปัจจุบัน...จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า การบำรุงไตมีผลดีในการ  สร้างเสริมสุขภาพหลายๆด้าน อาทิ:

      1. ชะลอความชรา 

       เพิ่มความแอ็คทีฟของสาร SOD ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ทำลายอนุมูลอิสระและลดระดับ LPO ได้อย่างเด่นชัดพร้อมทั้งลดสาร MDA และปริมาณ สารไลโปฟัสซินในตับ สมองหัวใจ ซึ่งล้วนเป็นกลไกสำคัญในการชะลอความชรา อนุมูลอิสระก่อให้เกิดความเสื่อมหลายอย่าง เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมของ กระดูก ทำลายผนังหลอดเลือด ทำลายเซลล์สมอง เซลล์ประสาทและจอตา เป็นต้น และที่ร้ายแรงที่สุด คือถ้าอนุมูลอิสระโจมตี DNA จะทำให้เซลล์กลายเป็นเซลล์ มะเร็งได้ในที่สุ

       2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
       เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวแมคโครเฟจในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ทั้งยังมีส่วนช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะสมดุล จึงมักจะใช้ร่วมกับยารักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่นโรคภูมิแพ้ SLE โรคปวดข้อรูมาตอยด์สะเก็ดเงิน เป็นต้น เพื่อเพิ่มอัตราการหายของโรค

       3. ลดอาการอ่อนเพลีย
       ลดระดับยูเรียไนโตรเจน (Urea Nitrogen) ในเลือดและเพิ่มปริมาณการสะสมของไกลโคเจน (Glycogen) จึงสามารถบรรเทาอาการอ่อนเพลียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       4. กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด
       ฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของไตและต่อมหมวกไตในการสร้างฮอร์โมนต่างๆที่มีความสำคัญต่อทุกๆ ระบบของร่างกาย อาทิ:
ฮอร์โมน Erythropoietinซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วย
ลดภาวะโลหิตจางได้ด้วยฮอร์โมน Renin และ Prostaglandin ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมความดันโลหิตของร่างกาย การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำรุงรักษาไตควบคู่กับการรักษาความดันโลหิตสูงเพื่อเพิ่มอัตราการหายของโรคฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenaline) และนอร์อะดรีนาลิน (Nor-adrenaline) ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับเกลือแร่ เช่น โพแทสเซียมหรือโซเดียมให้อยู่ในภาวะสมดุลฮอร์โมนไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) มีหน้าที่ปรับเมตาบอลิซึมของน้ำตาล โปรตีนและไขมัน รวมทั้งการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นไกลโคเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งมีการสร้างที่อัณฑะ ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถกระตุ้นการเจริญของอวัยวะเพศชาย สัญลักษณ์ทางเพศและสมรรถภาพทางเพศ เร่งให้เชื้ออสุจิเจริญสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อผู้ชายอายุย่างเข้า 40 ปี อัณฑะจะลดการสร้างฮอร์โมนเพศชายลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุ สำคัญของอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การบำรุงไตสามารถกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไป จึงบำบัดอาการ หย่อนสมรรถภาพทางเพศและอาการอื่นๆ ในผู้ชายวัยทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีการสร้างที่รังไข่ด้วย เมื่อสตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่จะหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงไปเกือบทั้งหมด การบำรุงไตสามารถกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไปโดย ไม่ต้องอาศัยฮอร์โมนทดแทน จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการบรรเทาอาการต่างๆ ในสตรีวัยทอง

      5. ลดภาวะกระดูกพรุน
      เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและปริมาณมวลกระดูกได้อย่างเด่นชัด กระตุ้นการก่อตัวและเพิ่มความแอ็คทีฟของเซลล์สร้างกระดูกใหม่ (Osteoblast) ยับยั้งการก่อตัวและลดความแอ็คทีฟของเซลล์สลายกระดูกเก่า (Osteoclast) พร้อมทั้งแก้ไขภาวะดุลแคลเซียมเป็นลบ(Negative Calcium Balance) จึงบำบัดภาวะกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      6. ลดความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเธติก
      ลดความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบในอวัยวะภายในและต่อมขับหลั่งต่างๆ หากระบบประสาทซิมพาเธติกตื่นตัวมากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูงหัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ ต่อมเหงื่อหลั่งเหงื่อมากขึ้น หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง การบำรุงไตจึงทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลียง่าย อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปัสสาวะบ่อยครั้ง นอนไม่หลับ แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง
ภาวะกระดูกพรุน อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด ระยะเวลาการรักษาอาจ ไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง...


ขอขอบคุณ...จากแหล่งข้อมูล บริษัทเอินเวย์

Last modified on วันอังคาร, 15 พฤษภาคม 2555 16:01

More in this category: