L-Arginine แอล- อาร์จินีน

L-Arginine  แอล - อาร์จินีน!!!!!!!!!!!

Arginine มีสูตรเคมี  C6  H14  N4  O2 เป็นกรดอะมิโนชนิดเบส (asic amino acid) สามารถรับโปรตอนได้ที่ pH เป็นกลาง ใช้สังเคราะห์เป็นยูเรียได้

กรดอะมิโนและนิวคลีโอไทด์ เป็นสารตั้งต้นที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีน โดยจะถูกสร้างขึ้นในอัตราที่น้อยมากให้เพียงพอกับความต้องการเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกรณีของสารพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ซึ่งสามารถสังเคราะห์จนเกินพอ แล้วเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้

ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้ 10 ชนิด จากทั้งหมด 20 ชนิด กลุ่มที่สร้างได้เองนี้จัดเรียกเป็นกรดอะมิโนไม่จำเป็น (Non–essential amino acid) ส่วนอีก 10 ชนิดที่จำต้องได้รับจากอาหาร เรียกว่ากรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid) ได้แก่ Ile, Leu, Lys, Met, Phe, ThR, Trp, Val, His และ Arg (อาร์จินีน) (แต่บางตำราจัดให้อาร์จินีน เป็นกรดอะมิโน ไม่จำเป็นก็มี)

บทบาท / กลไกการออกฤทธิ์

อาร์จินีน ใช้สร้างไนตริค ออกไซด์ (Nitric oxide) ไนตริกออกไซด์ ขึ้นชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษของร่างกาย” (The New Hero of Human Biology) นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ Louis J.lgnarro, Robert Furchgot and Ferid Murad ได้ค้นพบคุณสมบัติของไนตริกออกไซด์ จนได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 1998 จากการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไนตริกออกไซด์สามารถช่วยในการบำบัดหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือดลดสภาวะความตึงเครียดของหลอดเลือด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ ดูแลและซ่อมแซมการไหลเวียนของเลือด ช่วยทำให้การสูบฉีดโลหิตทั่วร่างกายได้เป็นปกติ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ nitric oxide synthase ทำปฏิกิริยา deamination ผลของการเกิดไนตริค ออกไซด์ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilate)

โดยเมื่อ acetyl choline ถูกหลั่งจากปลายเซลล์ประสาทมาที่ผนังหลอดเลือดจะกระตุ้นให้ endothelial cellsสร้างไนตริค ออกไซด์ จากกรดอะมิโนแอล อาร์จินีน (L–arginine) ซึ่งจะซึมผ่านผนังเซลล์ออกมาที่เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ที่อยู่ใกล้เคียง แล้วแพร่ผ่านผนังเซลล์ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเข้าไปจับกับอะตอมของเหล็กที่เอนไซม์ guanylyl cyclase ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบผลิต cGMP สูงขึ้น นำไปสู่การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ มีผลให้หลอดเลือดขยายตัว

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อาร์จินีนเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของไนตริคออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวขยายหลอดเลือด โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ guanylyl cyclase ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ทำให้มีระดับ cGMP สูงขึ้น เกิดการคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้หลอดเลือดขยายได้ อีกทั้งควบคุมการคืนตัว ใช้น้ำตาลในกระแสเลือด

เมื่อกล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือดขององคชาติคลายตัว ส่งผลให้หลอดเลือดขยาย เลือดก็ไหลเวียนได้มากขึ้น เมื่อหลอดเลือดขยาย ผลตามมาคืออวัยวะพองขยาย และแข็งตัวขึ้น

ประโยชน์

อาร์จินีน จึงถูกใช้รักษาโรค ED (หย่อนสมรรถภาพทางเพศ) และยังช่วยลดความดันเลือด ได้อีกทางหนึ่ง

ในแง่เปรียบเทียบกับยารักษา ED แอลอาร์จินีน เป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า จากการที่มันช่วยให้หลอดเลือดในองคชาติผ่อนคลาย เกิดการแข็งตัวแบบธรรมชาติ

มีงานวิจัยที่มีอาร์จินีน, กิงโก, โสมเกาหลี, โสมอเมริกัน และไวตามินเกลือแร่ จากชาย 21 คน ที่เป็น ED ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า 88.9% มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้นานขึ้น และ 78% รู้สึกได้ถึงผลของเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

โคเลสเตอรอลนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด พบว่าอาร์จินีนมีแนวโน้มช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และลดการไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจพิบัติ และหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ โดยขยายหลอดเลือด และลดความดันเลือด อาร์จินีนจึงมีประโยชน์ ต่อผู้ที่โคเลสเตอรอลสูง เพราะเกล็ดเลือดของคนกลุ่มนี้จะข้นกว่าผู้ที่ระดับโคเลสเตอรอลปกติ ใช้ร่วมกับคาร์นิทีน มีการศึกษาในอิตาลี โดยทดสอบกับผู้สูงอายุ 84 คน ที่สุขภาพดี แต่มีอาการอ่อนเพลียเพราะไม่ค่อยออกกำลังกาย พบว่าหลังจากได้รับ คาร์นิทีน 30 วัน ผู้รับการทดสอบมีสุขภาพดีขึ้นทั้งกายและจิตใจ และมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดโคเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ด้วย

อาร์จินีน และคาร์นิทีน ยังใช้ในกรณีปวดเค้นอก เนื่องจากหัวใจได้รับเลือด หรือออกซิเจนไม่พอ

ขนาดที่แนะนำคือ 500 มก. x 3 โดยหากใช้เกิน 1 เดือน ควรได้รับกรดอะมิโนแบบรวมร่วมด้วย

กรดอะมิโน จำเป็นต่อการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผิวหนัง อวัยวะ ต่อมต่างๆ เล็บและเส้นผม กรดอะมิโนยังช่วยผลิตฮอร์โมน เช่น อินซูลิน สารสื่อประสาท ของเหลวในร่างกาย และเอนไซม์ที่กระตุ้นการทำงานของร่างกาย

ชื่อของกรดอะมิโนมักนำหน้าด้วย L หรือ D ก็ทำนองเดียวกับ cis หรือ trans form คือ หากนำด้วย L เช่น L–carnitine หมายถึง โครงสร้างเคมีที่เลียนแบบธรรมชาติใกล้เคียงกับกรดอะมิโนในร่างกายมากกว่า ยกเว้น DL–phenyl alanine ที่อาจรักษาอาการปวดเรื้อรังได้

แม้การขาดกรดอะมิโนมักเกิดจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ (อาหารโปรตีนต่ำ) แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การ ติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บ เครียด ยาบางชนิด วัยและความไม่สมดุลย์ของระดับสารเคมีในร่างกาย การกินกรดอะมิโนเสริมจะทดแทนส่วนที่ร่างกายขาด และยังรักษาโรคต่างๆ ได้

อาการข้างเคียง การกินกรดอะมิโน ในขนาดแนะนำมักไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่บางชนิดที่ได้รับมากเกิน อาจเป็นพิษและทำให้คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสียได้

ข้อพึงระวัง งดใช้ในผู้ปวดศีรษะไมเกรน (การผ่อนคลายของหลอดเลือดจากอาร์จินีน อาจทำให้อาการไมเกรนเลวร้ายลง) ซึมเศร้า (ในบางครั้งอาร์จินีนทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้) ภูมิเพี้ยน เช่น รูมาตอยด์, SLE, Multiple sclerosis อาการอาจแย่ลง

งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าการมีไนตริคออกไซด์มากเกินไป อาจทำให้ระบบย่อยอาหารกำเริบ

สารเสริมอาหารกรดอะมิโน จะออกฤทธิ์ได้เต็มที่ หากไม่ต้องแข่งขันกับกรดอะมิโนจากอาหารโปรตีนสูง ในกระบวนการดูดซึม จึงควรกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย

1 – 1 ½ ชม. โดยเวลาที่ดีที่สุดน่าจะเป็น ตอนเช้าหรือก่อนนอน

หากกินกรดอะมิโนมากกว่า 1 ชนิด ให้กินต่างเวลากัน

ขนาดที่แนะนำ ของกรดอะมิโน แต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วยแต่ละอย่าง ถ้าได้รับกรดอะมิโนเพียงชนิดเดียวนานกว่า 1 เดือน ควรเปลี่ยนมากินร่วมกับกรดอะมิโนรวม เพื่อให้ได้สมดุลของกรดอะมิโนทุกชนิด (เช่น ทานควบกับนมถั่วเหลืองบดทั้งผิวหุ้มเมล็ด)

ผู้ที่มีแนวโน้มเกิดแผลในปาก แนะนำว่าควรลดอาหารที่อุดมด้วยอาร์จินีน และเพิ่มอาหารที่มีไล

ซีนสูง

แหล่งอาร์จินีนคือ นม ปลา สัตว์ปีก ถั่วเปลือกแข็ง

ปริมาณที่ใช้ เริ่มวันละ 1 กรัม (1,000 มก.) โดยแบ่งมื้อ หากไม่ดีขึ้น ให้เพิ่มเป็น 2 เท่า มากได้ถึงวันละ 5 กรัม

สรุปแนวการแก้ไข ED โดยไม่ใช้ยา

1. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ควรเริ่มจากอาร์จินีน 1,000 มก./ วัน แบ่ง 3 มื้อ

ดื่มนมถั่วเหลือง เช้า และ/หรือ ก่อนนอน

2. กรณีผลตอบรับยังไม่น่าพอใจ

2.1 ผู้อายุไม่เกิน 40 ปี ลอง (อมใต้ลิ้น) เซลล์สมองกับ ต่อมใต้สมอง อย่างละ 3 เม็ด พร้อมกัน ก่อนปฏิบัติการ

2.2 ผู้ชายอายุเกิน 40 ควรทาน (อมใต้ลิ้น) เซลล์สมอง + ต่อมใต้สมอง + อัณฑะ อย่างละครั้งละ 1 เม็ด เช้า กลางวัน ร่วมกับ (กลืน) อวัยวะรวม เช้าละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10 – 30 วัน และ/หรือ ร่วมกับ ข้อ 2.1

3. การบำรุงร่างกายระยะยาวควรใช้ ข้อ 1 ร่วมกับน้ำมันปลาและแร่ธาตุสังกะสี อย่างละ 1 x 2 / วัน

Reference :

1. เซลล์ชีววิทยาทางการแพทย์ 2 กลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์จุฬา 2549

2. รีดเดอร์สไดเจสท์ คู่มือฉลาดใช้วิตามิน แร่ธาตุฯ ISBN 974-93003-5-1

3. อาหารสุขภาพ แปลโดย พอ.หญิงศรีนวล เจียจันทร์พงษ์ และ คณะ ฉ.104/2546

Last modified on วันอังคาร, 30 ตุลาคม 2555 15:59