เบาหวาน
คุณมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานไหม?...
ปัจจุบันคนไทยวัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 2.4 ล้านคน ผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นโรคนี้ และเป็นไปได้ว่ามีผู้ป่วยอีก 3 ล้านคนที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวาน ลองทำแบบทดสอบเพื่อตรวจดูว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมายถูก ที่ช่อง หากตรงกับสภาพหรืออาการของคุณ
คุณอายุมากกว่า 35 ปี
มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
ชอบกินของหวานๆ มันๆ
น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ออกกำลังกายน้อย
เป็นแผลแล้วหายยาก
กระหายน้ำมาก
ปัสสาวะบ่อย
อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ตาพร่า มองไม่ชัด
ความดันโลหิตสูง
ปวด แน่น จุกเสียด
หิวบ่อย ทานจุ
ชาตามปลายมือปลายเท้า
หากคุณตอบใช่เป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป...
- เบาหวานคืออะไร...
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายตอบสนอง ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วน ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติซึ่งจะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้:
+ เบาหวานชนิดที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน) ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลิน ได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น แต่ก็อาจพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
+ เบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่างเช่น พันธุกรรม อายุ น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สามารถสร้างอินซูลิน ได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง...
+ ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อมและอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
+ ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่ากระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียดอาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดินหรือมีอาการท้องเดินตอนกลางคืนผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
+ ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
+ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้า ไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
+ ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อรา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
+ แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยเนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาอักเสบและภาวะขาดเลือด ทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้าหรือตัดเท้า ทำให้เกิดภาวะพิการได้
- ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ...
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและมีความรุนแรงที่มากกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกายเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆร่วมด้วย เช่นโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิด ความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก และเกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน
- อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร...
สำหรับอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยเบาหวาน อาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ย่อย ปวดร้าวที่ไหล่ คอหรือต้นแขน วิงเวียนตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
- การแพทย์จีนค้นพบโรคเบาหวานตั้งแต่เมื่อไร...
สำหรับโรคเบาหวานบรรดาตำราการแพทย์ของประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ของโลกต่างมีการบันทึกถึงโรคนี้ และนายแพทย์ฉินฉวน (Chen Chuan ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ .643) ซึ่งเป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยราชวงศ์ถังได้ค้นพบลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยเบาหวานคือปัสสาวะมีรสหวานโดยบันทึกไว้ว่า คนที่มีอาการกระหายและดื่มน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยครั้งปัสสาวะขุ่นข้นและมีรสหวาน อาการเหล่านี้เป็นโรคที่มีน้ำตาลรั่วในปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์ที่มีการสรุปอาการของโรคเบาหวานได้อย่างละเอียดและชัดเจน หลังจากนั้นอีกพันกว่าปี นายแพทย์โทมัส วิลเลี่ยมของอังกฤษ จึงได้มีรายงานลักษณะเดียวกันออกมาและผ่านไปอีกร้อยกว่าปีเศษ
แม็คฮิว โดโบสัน จึงได้พิสูจน์ว่าในปัสสาวะของผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาล ซึ่งก็ล่วงเข้าไปในปี ค.ศ.1776 แล้ว
- สาเหตุโรคเบาหวานในทัศนะการแพทย์จีน...
การแพทย์จีนได้จัดโรคเบาหวานให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ การเกิดและการพัฒนาของโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสารจิง ในไต สารจิงคือสารจำเป็นในการดำรงชีวิตที่เก็บไว้ในไต โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้:
+ สารจิงที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ พ่อแม่ที่มีปัญหาสุขภาพก็จะถ่ายทอดสารจิงที่ไม่สมบูรณ์ให้แก่ลูก ทำให้ไตของลูกอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด
+ สารจิงภายหลังกำเนิด ซึ่งเป็นสารที่ได้รับจากอาหารการกิน โดยม้ามและกระเพาะอาหารทำหน้าที่ลำเลียงมาเติมเพื่อไม่ให้สารจิงพร่องลง ในทัศนะการแพทย์จีน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก สารจิงที่มีมาแต่กำเนิด ไม่สมบูรณ์ส่งผลให้ไตอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด จากผลการศึกษาทางคลินิกในปัจจุบันก็ได้พิสูจน์แล้วว่า โรคเบาหวานส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ผู้ป่วยเบาหวานที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานจะมีโอกาสเป็นสูงถึง 45% หากพ่อแม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานทั้งคู่ โอกาสที่ลูกเป็นโรคเบาหวานจะมีมากกว่า 50% นอกจากนี้ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่นไม่ควบคุมอาหารการกิน มีเพศสัมพันธ์มากเกินไป ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การทานยาเคมีเป็นประจำเป็นต้น ก็จะส่งผลให้ สารจิงภายหลังกำเนิด พร่องลงอย่างรวดเร็วและก่อนเวลาอันควร ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นและเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
- วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...
เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับมูลเหตุและอาการของโรคเบาหวานมาเป็นเวลาอันเนิ่นนาน ทำให้การแพทย์จีนมีการค้นคว้าและพัฒนาวิธีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญในการบำบัดต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กันดังนี้:
+ ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาดเพื่อป้องกันและบำบัดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
+ ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอลและอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเหมาะสม จึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
+ บำรุงไตเพื่อขจัดต้นเหตุของโรคเบาหวาน เนื่องจากไตอ่อนแอทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคเบาหวานก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวาย ซึ่งถือเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงไตให้แข็งแรงขึ้นจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดโรคเบาหวาน สารพัดอาการและโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลง ระยะเวลาการรักษาอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง
ขอขอบคุณ.....จากแหล่งข้อมูลบริษัทเอินเวย์