โสม เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในแถบเอเชียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เดิมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลี และไซบีเรีย ในตำรับเภสัชของจีน ได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากโสมว่าช่วยทำให้อวัยวะภายในเป็นปกติ สงบ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้สุขภาพดี ทำให้หน้าตาแจ่มใส จิตใจแช่มชื่น เพิ่มความฉลาด ในประเทศไทยมีผู้นิยมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง นับเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง

โสมที่มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี และนำมาใช้กันมากที่สุดมี 2 ชนิด คือ โสมเอเชีย ซึ่งนิยมเรียกว่า โสมจีน หรือโสมเกาหลีนั่นเอง และอีกชนิดคือโสมอเมริกัน โดยเฉพาะในประเทศจีน ความต้องการของตลาดสูงมาก และมีการปลูกมาก เนื่องจากเชื่อว่าการเกิดโรคต่างๆ มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของของหยิน และหยาง และการใช้โสมสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ ในประเทศจีนมีการใช้โสมทั้ง 2 ชนิด สาหรับโสมอเมริกัน มีสมบัติเป็นยาเย็น (yin)

และโสมจีนมีสมบัติเป็นหยาง (yang) หรือยาร้อน ปกติโสมเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า มีความสูงของต้นเพียง 60-80 เซนติเมตรเท่านั้น และต้องรอนานถึง 6 ปี จึงจะได้รากโสมที่มีสารสำคัญทางยาในปริมาณสูงสุดเรามารู้จักโสม และสรรพคุณที่มีผลการวิจัยรับรองกันดีกว่า

1. โสมเกาหลี หรือโสมคน (Korean ginseng)

เนื่องจากรูปร่างของราก ที่มีลักษณะคล้ายคน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A.Meyer จัดอยู่ในวงศ์ Araliaceae คาว่า “panax” มาจาก “panacea” แปลว่า “รักษาได้สารพัดโรค” โสมชนิดนี้มีถิ่นกำนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน แล้วมีการนำไปศึกษาทดลองปลูกในเกาหลี และญี่ปุ่น จนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า ถ้าปลูก และส่งออกจากประเทศจีน มักเรียกว่า “โสมจีน (Chinese ginseng)” ที่ปลูก และส่งออกจากประเทศเกาหลีมักเรียกว่า “โสมเกาหลี (Korean ginseng)” เมื่อปลูกจนมีอายุครบ 6 ปี จึงจะมีตัวยาสำคัญสูงสุด โสมที่ขายในตลาดทั่วไปรวมทั้งประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือโสมขาว และโสมแดง, โสมแดง (red ginseng) คือโสมที่ผ่านไอน้ำอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเอนไซม์ และเชื้อรา ความร้อนทำให้ได้สารที่มีลักษณะคล้ายคาราเมลที่ผิวชั้นนอก (epidermis) ของราก ทำให้ได้รากโสมที่มีสีแดงอมน้ำตาล และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีกว่าโสมขาว และราคาแพงกว่า ส่วนโสมขาว (white ginseng) ได้จากการนำรากโสมมาล้างน้ำให้สะอาด และตากแดดให้แห้ง จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม

2. โสมอเมริกา (American ginseng)

มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panax quinquefolium L. เป็นไม้ป่าในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา พบครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา ในอเมริกาเหนือ มีการใช้ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องดื่ม และชาชง ชาวจีนนำมาปลูก และใช้เช่นเดียวกับโสมเกาหลี องค์ประกอบสำคัญ สารเคมีสำคัญที่พบในรากโสมเกาหลี และโสมอเมริกัน มีหลายชนิด แต่ที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoid saponin) ชนิด dammarane type ซึ่งรวมเรียกว่ามีจินเซโนไซด์ (ginsenoside) ซึ่งมีนิวเคลียส 2 ชนิดคือ protopanaxadiol และ protopanaxatrial นิวเคลียสทั้ง 2 ชนิดจะจับกับน้ำตาล ชนิด และจำนวนต่างๆกัน ซึ่งปัจจุบันค้นพบจินเซโนไซด์ ประมาณมากกว่า 30 ชนิด โดยพบว่ามีจินเซโนไซด์ จานวน 8 ชนิด ที่มีความสำคัญคือ จินเซโนไซด์ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rf, Rg1และ Rg2 โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ Rb1, Rb2, Re และ Rg1ในรากโสมอเมริกันจะมีจินเซโนไซด์ต่ำกว่าในรากโสมเกาหลี นอกจากนี้ในรากโสมยังมีสารกลุ่มอื่นๆ เช่น น้ำตาล, แป้ง, น้ำมันหอมระเหย สารจำพวกสเตรอยด์ มาตรฐานสารสกัด ในเภสัชตำรับของเอมริกา (USP) ได้กำหนดว่าสารสกัดโสมเกาหลีที่ได้มาตรฐาน เมื่อนำรากโสมมาสกัดควรได้สารสกัดในอัตราส่วนของโสมที่ใช้ต่อสารสกัดที่ได้อยู่ระหว่าง 3:1 ถึง 7:1 และควรมีจินเซโนไซด์ (Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rg1)ไม่ต่ากว่า 3% ด้วย จึงจะถือว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเมื่อนำไปใช้นั่นเอง ดังนั้นหากมีโสมที่คุณภาพดีอยู่ในมือแล้ว ก็กินรากแห้งเพียง 2 กรัม ต่อวัน ก็จะได้รับจินเซโนไซด์ในระดับมาตรฐานแล้ว ปัจจุบันมีการทำโสมสกัด (G115) เป็นโสมสกัดมาตรฐานมี จินเซโนไซด์ 8 ชนิดความเข้มข้น 4% เป็นต้น เรื่องราวของโสมยังไม่จบนะคะโปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ....

Last modified on Friday, 12 October 2012 14:12